日本の巨大ロボット群像 -巨大ロボットアニメ、

日本の巨大ロボット群像 -巨大ロボットアニメ、

そのデザインと映像表現-

Giant Robots The Core of Japanese Mecha Anime

ตำนานหุ่นยนต์ยักษ์ เสาหลักอนิเมะญี่ปุ่น

…….

“คือถ้าจินตนาการมันจะเดินทางจากลายเส้นดินสอ สู่การสร้างหุ่นยนต์ยักษ์จริงๆขึ้นมาได้นั้น ต้องอาศัยพลังความเชื่อปริมาณขนาดเท่าไหร่กันนะ…”

…….

งานนิทรรศการที่รวบรวมเอาอนิเมะสายหุนยนต์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น เอาตั้งแต่หุ่นยนต์ตัวแรกถือกำเนิดขึ้นมามากางให้ดูแบบทะลุเนื้อในกันเลยว่าจุดเริ่มต้นและการเดินทางจนถึงปันจุบัน ผ่านร้อน ผ่านหนาวอะไรมากันบ้าง

…….

ตำนานจุดเริ่มต้นของหุนยนต์ตัวแรก 『鉄人28号』หรือในชื่อไทย เทตสึจิน หุ่นเหล็กหมายเลข 28 ในปี (1963) ก่อนจะตามมาด้วย 『マジンガーZ』มาชินก้า แซด ในปี (1972) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการนำมาทำภาคต่อ ภาคหนังใหญ่ ที่มีการพัฒนาเทคนิคการถ่ายทอดให้สมจริงด้วยระบบซีจีที่ตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ตามมาด้วยหุ่นตัวท็อปอย่าง 『機動戦士ガンダム』 “Mobile Suit Gundam” ในปี (1979) ที่สร้างปรากฏการณ์ยิ่งใหญ่หลายอย่างให้กับการพัฒนาอนิเนมะหุ่นยนต์จนถึงทุกวันนี้ มีการสร้างแอนิเมชั่นหุ่นยนต์จำนวนมาก รวมถึงการออกแบบหุ่นยนต์ – การวิวัฒนาการจนกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญในญี่ปุ่น

นิทรรศการนี้ จะพาเพื่อนๆได้รู้จักกับหุ่นยนต์ ในอนิเมะราวๆ 45 เรื่องกับชิ้นงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 200 รายการ ทั้งภาพวาดต้นฉบับ ภาพงานสเก็ตซ์งานไอเดียจุดเริ่มต้น และวัสดุมากมายในการสำรวจประวัติความเป็นมาของขั้นตอนการออกแบบ

……..

นิทรรศการนี้จะย้อนรอยประวัติศาสตร์ของการออกแบบหุ่นยนต์ยักษ์ในแอนิเมชั่นญี่ปุ่น โดยตั้งคำถามว่า “หุ่นยนต์ยักษ์คืออะไร”

ตัวนิทรรศการจะแบ่งออกเป็น 3 หมวด

………

หมวดที่ 1 “กลไก” ของหุ่นยนต์ยักษ์

มิติของการออกแบบดีไซน์ หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ ในยุคแรกๆ มักจะมีเรื่องของการผลิตออกมาเป็นของเล่นด้วย เพื่อให้ขายได้มากขึ้นทั้งงานอนิเมะ และงานโปรดักส์ (ของเล่น ของสะสม กาชาปอง) ดังนั้นมิติของงานออกแบบ จะมองถึงการบิดจับ การแปลงร่าง การต่อตัว สีสัน และการขับเคลื่อน ร่วมด้วยเสมอ ในนิทรรศการนี้ จะนำเสนอเสน่ห์ของกลไกดังกล่าวผ่าน ภาพวาดการออกแบบและฉากจากละครต่างๆในภาพยนต์อนิเมะ

………

หมวดที่ 2 “ขนาด” ของหุ่นยนต์ยักษ์

“ขนาด” ของหุ่นยนต์ยักษ์ ปรากฏตัวในอนิเมะได้อย่างไร? ในช่วงปี 1980 หุ่นยนต์ยักษ์ ที่ไม่ใช่ขนาดยักษ์ เมื่อเทียบขนาดแล้วจะพบว่า ตัวหุ่นมีขนาดเล็กลงกว่าที่มันจะใช้งานได้แบบนั้นจริงๆ แต่ในทางกลับกัน กลับมีการแสดงออกได้มากขึ้น สมจริงมากขึ้น เราจะเทียบให้ดูว่าขนาดของหุ่น(ที่เขาว่ามันมีขนาดเท่านี้) เมื่อเราไปยืนเทียบแล้ว จะมีขนาดเท่าไหร่

………

หมวดที่ 3 “กลไกภายใน” ของหุ่นยนต์ยักษ์

“กลไกภายใน” หรือภายในห้องนักบิน ห้องคนขับของหุ่นยนต์ ถูกออกแบบขึ้นราวกับว่ามันมีอยู่จริง งานดีไซน์ที่เหนือจินตนาการในขณะนั้นๆ รวมเอาทั้งความเชื่อ งานศิลปะ รวมถึงเรื่องเหนือธรรมชาติต่างๆเข้าด้วยกัน ผ่านมุมมองของนักออกแบบที่เชื่อว่าด้านหลังชุดเกราะ จะเป็นแบบไหน

………

ผ่าน 3 หมวดหลักๆไปแล้ว ยังมีงานสัมนาการดีไซน์หุ่นยนต์กับทีมนักวาดยุคใหม่ การเล่าเรื่องงานดีไซน์ กับนักวาดยุคบุกเบิก การวาดภาพหุ่นยนต์ยักษ์โชว์ แล้วก็โซนจำหน่ายสินค้าที่ระลึกจากงานนิทรรศการ (อาจจะมีกิจกรรมเพิ่มเติมในพื้นที่จัดงานที่แตกต่างกันไป)

………

日本の巨大ロボット群像 -巨大ロボットアニメ、

そのデザインと映像表現-

Giant Robots The Core of Japanese Mecha Anime

ตำนานหุ่นยนต์ยักษ์ เสาหลักอนิเมะญี่ปุ่น

นิทรรศการจะถูกจัดขึ้นทั้งหมด 4 เมือง

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองฟุกุโอกะ (จังหวัดฟุกุโอกะ)

ตั้งแต่วันที่ 9 กย.-12 พย. 2023

พิพิธภัณฑ์ศิลปะโยโกสุกะ (เมืองโยโกสุกะ จังหวัดคานากาว่า)

ตั้งแต่วันที่ 10 กพ. – 7 เมย. 2024

พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองทาคามัตสึ (เมืองทาคามัตสึ จังหวัดคางาวะ)

ตั้งแต่วันที่ 20 เมย. – 16 มิย. 2024

พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเกียวโต (เมืองเกียวโต)

ตั้งแต่วันที่ 6 กค. – 1 กย. 2024

……

ค่าเข้าชมนิทรรศการ (โดยประมาณ)

・ทั่วไป … 1,600 เยน (รวมภาษี)

・นักเรียนมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย … 800 เยน (รวมภาษี)

・นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น … 500 เยน (รวมภาษี)

อ่อ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ญี่ปุ่น มักจะปิดวันจันทร์ ยังไงก่อนไปชมก็เช็คกันก่อนนะจ๊ะ …..

ข้อมูลเพิ่มเติมที่

https://artne.jp/giant_robots

………

#japanbochure#giant_robots#日本の巨大ロボット群像#巨大ロボットアニメ#そのデザインと映像表現

#GiantRobotsTheCoreofJapaneseMechaAnime